ทุเรียน, พืชสวน, เทคนิคการจัดการทุเรียน

ทุเรียน : ฮอร์โมนและการออกดอกของทุเรียน

โดยปกติแล้วเกษตรกรหลายท่านอาจสงสัยหรือยังไม่ทราบ ถึงฮอร์โมน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการออกดอกของทุเรียนซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้เราเข้าใจและนำไปประยุกต์ เพื่อให้ทุเรียนของเราออกดอกได้อย่างดีและมีคุณภาพ

เมื่อต้นทุเรียนของเราเกิดภาวะกระทบแล้ง(กระทบแล้งคือ ความชื้นสัมพัธ์ในอากาศต่ำ อากาศแห้งแล้ง)ราก จะส่งฮอโมนเอทีลีนขึ้นไปที่ใบ ส่งผลให้มีการเปลียนค่ำสั่งให้มีการขยายพันธ์เพื่อการอยู่รอดเพราะต้นไม้คิดว่ากำลังจะตาย เมื่อสัญญาณขึ้นไปที่ยอด ใบจะสร้างฮอร์โมน ออกซิน ไซโตไคนินและพลังงาน ย้อนกลับเข้ามาในกิ่ง ทำให้เกิดกระบวนการแตกตุ่มตาขึ้น โดยขอพิสูจน์นี้เราสามารถสังเกตุได้จากว่าตาดอกที่เกิดขึ้นมักจะมาจากปลายกิ่งก่อนเสมอ เมื่อถึงกระบวนการนี้ จึงเริ่มเข้าสู่กระบวนการเปิดตาดอกต่อไป ถ้าใบยังไม่มีการสร้างฮอร์โมนส่งมาการไปพ่นปัจจัยต่างๆเพื่อเปิดตาดอกนั้นก็เป็นการสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ แต่นอกจากการกระทบแล้งแล้วยังมีปัจจัยของใบเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

  • เมื่อแล้งแล้ว แต่ใบยังไม่แก่ดี อาหารส่วนใหญ่จะถูกส่งไปเลี้ยงใบอ่อน ถึงแม้ อากาศจะแห้งแล้ง ฮอร์โมนถูกสร้างมาแล้ว แต่ไม่มีอาหารพอที่จะไปสร้างตาดอก สิ่งที่เกิดขึ้นคือดอกอาจจะออกได้ แต่ออกแบบประปราย ไม่มีจำนวน ดังนั้นถ้าใบยังไม่แก่ดี สิ่งที่เกษตรกรควรทำในระยะนี้คือสะสมอาหาร เพื่อเร่งให้ใบแก่สมบูรณ์ มากกว่าจะไปเปิดตาดอกให้เปลืองต้นทุน
  • เมื่อกระทบแล้งแล้ว และ ใบแก่ดีแล้ว(ใบแก่คือ ปลายยอดชี้ตรง ไม่โค้งงอลงหาพื้นดิน บีบใบดูมีเด้งกลับเหมือนมีสปริง ไม่อ่อนตามมือ) สภาพแบบนี้จะเป็นสภาพที่พร้อมออกดอกแล้ว เราสามารถส่งช่วยด้วยการเปิดตาดอกได้
  • เมื่อกระทบแล้งแล้ว เริ่มมีตาดอก แต่ฝนตกติดต่อ เมื่อต้นทุเรียนได้รับฝนตกติดต่อกัน จะมีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนภายในต้นจากฮอร์โมนที่เป็นคำสั่งสร้างตาดอก จะถูกเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนในการสร้างตาใบ หรือแตกยอด อาหารทั้งหมดจะเปลี่ยนจากส่งไปเลี้ยงดอก จะเปลี่ยนไปเลี้ยงใบและยอดอ่อน ส่งผลให้ ดอกที่ออกมาฝ่อไป

จากที่กล่าวมาจะทำให้เกษตรกรพอมองเห็นภาพของกระบวนการออกดอกมากขึ้น ดังนั้นการเลือกใช้ปัจจัย ก็ควรเลือกใ้ช้อย่างเหมาะสม เพื่อลดการใช้ปัจจัยที่ไม่จำเป็น