พืชสวน, ขั้นตอนการผลิดทุเรียน, ทุเรียน, ผลไม้, เทคนิคการจัดการทุเรียน

เทคนิคการทำทุเรียนนอกฤดู

หลังการจัดการฟื้นฟูสภาพต้นทุเรียนหลังเก็บเกี่ยวเรียบร้อยแล้ว(วิธีฟื้นฟูระบบราก) ,(วิธีการตัดแต่งกิ่ง)ก็จะมาดำเนินการส่งเสริมให้มีการแตกใบอ่อนและเพิ่มความสมบูรณ์ของต้นทั้งทางดินและทางใบ

ใบรุ่นแรก

การใช้ปัจจัยทางดิน

ปุ๋ย 15-0-0 + สูตรตัวหน้าสูง ในอัตรา 2:1 เพื่อส่งเสริมธาตุอาหารให้มีการแตกดียิ่งขึ้น 1 ครั้ง/1 รุ่นใบ

ปัจจัยทางใบ

วอเตอร์ เค 21-3-3 300 ซีซี/น้ำ200 ลิตร + สาหร่าย พลัส 100 กรัม/น้ำ200 ลิตร  เพื่อเพิ่มจำนวนใบ 1 ครั้ง และ 14-14-14 300ซีซี/น้ำ200 ลิตร + อะมิโน D 100 กรัม/น้ำ200 ลิตร อีก  2 ครั้ง

อะมิโน-D45(อะมิโนผงเข้มข้น)

60.00 ฿250.00 ฿
อะมิโนผงเข้มข้น ประกอบด้วย อะมิโน,โปรตีน และ วิตามิน
ช่วยบำรุงใบเขียวมัน ป้องกันต้นโทรม ช่วยบำรุงดอก ลดการหลุดร่วง ป้องกันดอกหด ช่วยขยายขนาดผล เนื้อแน่น เพิ่มคุณภาพผลผลิต พืชสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ทันที

สาหร่าย-พลัส(สาหร่ายผงเข้มข้น)

70.00 ฿300.00 ฿
สาหร่ายผงเข้มข้น ละลายง่าย ช่วยเพิ่มจำนวนใบ ขยายใบ ดึงดอก เปิดตาดอก ขยายผล

วอเตอร์-เค 14-14-14

270.00 ฿4,800.00 ฿
ประโยชน์ 
  • ช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ของพืช ช่วยสร้างเนื้อ ขยายขนาดผล ดอกดก ผลใหญ่ ลูกโตเร็ว สีสวย
พืชสามารถดูดซึมอาหารไปใช้ได้โดยทางรากและทางใบ เพื่อไปใช้ประโยชน์ในการเสริมสร้างการปรุงอาหารและเร่งการเจริญเติบโตของดอกและผลผลิตติดดอกถูกต้องตามฤดูกาล และช่วยเสริมสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดอกและผล สะสมอาหารต้านทานโรค อัตราการใช้ : 200-300 ซีซี

วอเตอร์-เค 21-3-3

250.00 ฿4,400.00 ฿
ประโยชน์ 
  • ช่วยดึงใบ ฟื้นฟูสภาพต้น
  •  ช่วยสร้างเปลือก ขยายขนาดผล ต้น ใบ ให้สมบูรณ์แข็งแรง
พืชสามารถดูดซึมอาหารไปใช้ได้โดยทางรากและทางใบ เพื่อไปใช้ประโยชน์ในการเสริมสร้างการปรุงอาหารและเร่งการเจริญเติบโตของดอกและผลผลิตติดดอกถูกต้องตามฤดูกาล และช่วยเสริมสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดอกและผล สะสมอาหารต้านทานโรค อัตราการใช้ : 200-300 ซีซี

ในรูปเมื่อยอดเริ่มเดินแสดงว่าระดับฮอโมนจิ๊บเพิ่มมากขึ้นเราให้ปัจจัยทางใบและทางดิน เข้าไปเพื่อเพิ่มจำนวนใบให้มากขึ้น

ใบรุ่นที่ 2

สำหรับใบรุ่นที่ 2 มีความสำคัญมากสำหรับทุเรียนทำสาร โดยทุเรียนที่จะทำสารจำเป็นจะต้องเรียกจำนวนใบให้ออกมามากที่สุดเพราะใบอ่อน จะเป็นตัวที่จะรับสารแพคโคบิวทาโซน

การใช้ปัจจัยทางดิน

ปุ๋ย 15-0-0 + สูตรเสมอ ในอัตรา 2:1 เพื่อส่งเสริมธาตุอาหารให้มีการแตกดียิ่งขึ้น 1 ครั้ง/1 รุ่นใบ

ปัจจัยทางใบ

โดยปกติทุเรียนทำสาร จะได้ใบนี้ในเดือน กรกฏาคม จึงต้องเร่งดำเนินการทั้งการเพิ่มจำนวนใบอ่อนให้มากที่สุด โดยใช้ 21-3-3  300 ซีซี/น้ำ200 ลิตร + เมจิกรูท 200 ซีซี/น้ำ 200 ลิตร + สาหร่ายพลัส 100 กรัม/น้ำ200 ลิตร 2-3 ครั้งทุก 10 วัน

หลังจากใบรุ่นที่ 2 นี้มีความพร้อมในการลงสารแล้วคือ ใบเพสลาดกางเต็มที่พร้อมรับสาร (ประมานเดือนปลายเดือน กรกฏา-ต้นเดือนสิงหาคม)

อะมิโน-D45(อะมิโนผงเข้มข้น)

60.00 ฿250.00 ฿
อะมิโนผงเข้มข้น ประกอบด้วย อะมิโน,โปรตีน และ วิตามิน
ช่วยบำรุงใบเขียวมัน ป้องกันต้นโทรม ช่วยบำรุงดอก ลดการหลุดร่วง ป้องกันดอกหด ช่วยขยายขนาดผล เนื้อแน่น เพิ่มคุณภาพผลผลิต พืชสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ทันที

เมจิกลูท

400.00 ฿7,200.00 ฿
เมจิกรูท เป็นไนโตรเจน-เอไมด์(N-AMIDE)พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันทีส่งเสริมการสร้างระบบรากและสร้างรากฝอย ช่วยเร่งการแตกราก เร่งการเจริญเติบโต ต้นโตไว ผลผลิตสูง

อมิโน-Z (อะมิโน)

300.00 ฿5,200.00 ฿
คุณสมบัติ : อมิโน-Z ประกอบด้วยอะมิโนแอซิดรวม 18 ชนิด เป็นสารขยันมีความจำเป็นต่อพืชทุกช่วงและเคลือนย้ายเข้าสู่พืชได้ทันที ประโยชน์ : อมิโน-Z ชนิดเข้มข้นช่วยเพิ่มการเปิดปากใบพืช เพิ่มการสังเคราะห์แสง สร้างโปรตีนและน้ำตาล ทำให้พืชเขียวเข้ม สมบูรณ์แข็งแรง ช่วยการออกดอกติดผล ช่วยฟื้นฟูสภาพต้น หลังการเก็บเกี่ยวน้ำท่วม ต้นทรุดโทรม อัตราการใช้ :  100-200 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร

วอเตอร์-เค 21-3-3

250.00 ฿4,400.00 ฿
ประโยชน์ 
  • ช่วยดึงใบ ฟื้นฟูสภาพต้น
  •  ช่วยสร้างเปลือก ขยายขนาดผล ต้น ใบ ให้สมบูรณ์แข็งแรง
พืชสามารถดูดซึมอาหารไปใช้ได้โดยทางรากและทางใบ เพื่อไปใช้ประโยชน์ในการเสริมสร้างการปรุงอาหารและเร่งการเจริญเติบโตของดอกและผลผลิตติดดอกถูกต้องตามฤดูกาล และช่วยเสริมสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดอกและผล สะสมอาหารต้านทานโรค อัตราการใช้ : 200-300 ซีซี

ลักษณะใบที่พร้อมจะทำสาร

ลักษณะใบที่พร้อมจะทำสาร

อัตราการใช้ของสารจะแตกต่างกันไปขึ้นกับความเข้มข้นของสาร

ให้ใช้สารแพกโคบิวทราซอล  พ่นที่ใบอ่อนรอบทรงพุ่มและในทรงพุ่ม อัตราขึ้นกับชนิดสารที่ใช้

แพกโคบิวทราซอล 10% อัตรา 2 กก.  ต่อน้ำ 200 ลิตร

แพกโคบิวทราซอล 15% อัตรา 1.5 กก.  ต่อน้ำ 200 ลิตร

แพกโคบิวทราซอล25 % อัตตรา 1 ลิตร ต่อน้ำ 200 ลิตร

ทะวาย 25 เอสซี (แพกโคลบิวทราซอล)

490.00 ฿5,700.00 ฿
คุณสมบัติ เป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชช่วยกระตุ้นการออกดอก ทำให้ออกดอกได้เร็วขึ้นก่อนฤดูกาล จึงเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วขึ้น ทะวายใช้ง่าย สะดวก เลือกใช้ได้ทั้งชนิดผงและชนิดน้ำ เหมาะสำหรับ : การทำไม้ผลนอกฤดู เช่น ทุเรียน มะม่วง ไม้ดอก เป็นต้น อัตราและวิธีการใช้ (ต่อน้ำ 200 ลิตร) -ดาวเรือง *ทะวาย 25 ใช้อัตรา 1 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร ราดสาร 100 ซีซี ต่อต้น หลังจากย้ายกล้าดาวเรือง 1 สัปดาห์ -ทุเรียน (ทำสาร) นอกฤดู *ทะวาย 25 เอสซี ใช้อัตรา 1 ลิตร พ่นในระยะเพสลาด ทั้งในและนอกทรงพุ่ม โดยน้ำ 200 ลิตร พ่นประมาณ 8-12 ต้น แล้วแต่ขนาดต้น (ทั้งนี้ปริมาณสารที่ใช้อาจปรับเพิ่มหรือลดให้เหมาะสมได้ตามความสมบูรณ์และอายุของต้นทุเรียน)  

หลังจากลงสารไปเรียบร้อยเข้าสู้ขั้นตอนของการสะสมอาหาร

ทางดิน 

ปุ๋ยสูตร 8-24-24 + แคลเซียม,แมกนีเซียม,โบรอน ทางดิน

ปัจจัยทางใบ

อะเมสซิ้งเค 200ซีซี/200ลิตร + อะมิโน-D 200ซีซี/200ลิตร + แคลบีเมค 200ซีซี/200ลิตร

พ่นทางใบ 10 วันต่อครั้ง จนกว่าจะพบว่ายอดของทุเรียนมีลักษณะเหยีดตรง ไม่มีอาการโค้งงอลง นั้นแสดงว่าต้นนั้นพร้อมต่อการออกดอกแล้ว หลังจากนั้นให้สังเกตุท้องกิ่งบริเวณปลายกิ่งว่าเริ่มมีกลุ่มตาดอกหรือยังถ้าเริ่มมีกลุ่มตาดอกแล้วก็เข้าสู่กระบวนการชักนำให้ออกดอก(เปิดตาดอก)ต่อไป

อะมิโน-D45(อะมิโนผงเข้มข้น)

60.00 ฿250.00 ฿
อะมิโนผงเข้มข้น ประกอบด้วย อะมิโน,โปรตีน และ วิตามิน
ช่วยบำรุงใบเขียวมัน ป้องกันต้นโทรม ช่วยบำรุงดอก ลดการหลุดร่วง ป้องกันดอกหด ช่วยขยายขนาดผล เนื้อแน่น เพิ่มคุณภาพผลผลิต พืชสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ทันที

อะเมซิ้งเค

380.00 ฿6,800.00 ฿
สะสมอาหาร สร้างออกซิน เร่งการเจริญเติบโตของดอกและผล ลดการหลุดร่วง ผลโต เนื้อแน่น เร่งแป้ง อัตราการใช้ 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร

ปัญหาที่พบบ่อยของผู้ที่จะทำการผลิตทุเรียนนอกฤดู 

  • กำหนดรุ่นเวลาที่ต้องการพ่นสาร แล้วแต่คุณภาพของใบไม่พร้อม ใบน้อย แก้ปัญหาอย่างไร ?

ใช้วิธีการพ่น สาร 2 ครั้ง พ่นที่ใบอ่อนครั้งที่ 1 ด้วย แพคโคบิวทาโซล 25% อัตรา 1 ลิตร/น้ำ 200 ลิตร หลังจากนั้น 20 วัน จะมีใบอ่อนเพิ่มขึ้นจากยอดเดิมและยอดใหม่ให้พ่นซ้ำโดยใช้ แพคโคบิวทาโซล 25% อัตรา 1 ลิตร/น้ำ 200 ลิตร

  • พ่นสารไปแล้วแต่ใบยังแตกออกมาหลังจากพ่นสารครั้งแรกไป 20-30 วัน
    ก็ให้พ่นสารซ้ำในอัตราที่แตกต่างกันตามช่วงเวลา

เดือนสิงหาคม ใช้ 100 %

เดือนกันยายน ใช้ 50 %

เดือนตุลาคม ใช้ 30 %

แต่ต้องจัดการให้ใบอ่อนในสภาพที่พร้อมรับสารได้ด้วย คือใบอ่อนกางเต็มที่

  •  กรณีที่ฉีดสารและสะสมอาหารมาเรียบร้อยปรากฏว่าฝนตกไม่หยุด ใบอ่อนกำลังจะแตก ควรจะดำเนินการอย่างไรดี?

ให้สังเกตุดังนี้

-กรณีที่ฉีดสารและสะสมอาหารมาเรียบร้อยปรากฏว่าฝนตกไม่หยุด ใบอ่อนกำลังจะแตกใหม่ ควรจะดำเนินการอย่างไรดีให้สังเกตุดังนี้

1. กรณีที่เริ่มมีดอกออกมาเล็กน้อย แล้วแตกใบอ่อนต้องแก้ปัญหาโดยการควบคุมใบอ่อนไม่ให้เจริญเติบโตด้วยปุ๋ย 0-42-56 อัตรา 1 กก./น้ำ 200 ลิตร + สตาร์ พี.เค. อัตรา 300 ซีซี/น้ำ 200 ลิตร + ฟาร์อีสท์ แมกนีเซียม 200 ซีซี + เฟอร์ติพลัส 100 ซีซี พ่นที่ใบอ่อน 1 ครั้งจะคุมใบอ่อนได้ 7 – 10 วัน/การพ่น 1 ครั้ง

2. ถ้าพบว่าทุเรียนมีปริมาณการแตกใบอ่อนรุนแรง แตกมาก ไม่สามารถหยุดใบอ่อนได้ ให้เปลี่ยนมาใช้สารแพกโคบิวทราซอล ควบคุมแทน โดยใช้ที่ความเข้ม 25% อัตรา 300-350 ซีซี/น้ำ 200 ลิตร พ่นที่ตำแหน่งใบอ่อนและแขนงภายในทรงพุ่ม 1 ครั้ง หลังจากนั้นทำการสะสมอาหารต่อด้วย

ปุ๋ยเกล็ด 10-52-17 500 กรัม/น้ำ 200 ลิตร + สตาร์ พี.เค. 300 ซีซี/น้ำ 200 ลิตร + แคลบีแมค 200 ซีซี

จนกระทั้ง สังเกตุว่าใบอ่อนมีการหยุดเจริญเติบโต(ใบเล็ก,ยอดตั้ง) จึงเริ่มเข้าสู่กระบวนการเปิดตาดอกอีกครั้ง
ข้อควรระวัง

– ทุเรียนทำสาร ในช่วงที่ทุเรียนกำลังออกดอก ไม่ควรเข้าไปตัดแต่งกิ่งแขนงภายในทรงพุ่ม เพราะจะทำให้การออกดอกหยุดชะงัก กิ่งแขนงสามารถไว้แล้วไปตัดแต่งอีกทีพร้อมดอกได้เลย

กรณีที่ทุเรียนเปลี่ยนจากตาดอกมาเป็นตาใบอันเนื่องมาจากฝนตกชุก สามารถจะใช้วิธีหยุดการเจริญเติบโตของแขนงอ่อน โดยใช้สารแพกโคบิวทราซอล 25% 250 ซีซี/น้ำ 200 ลิตร + ซีเคร็ท 100 ซีซี/น้ำ 200 ลิตร

เม็พ (เมพิควอตคลอไรด์)

350.00 ฿4,000.00 ฿
เมพิควอทคลอไรด์ สารกลุ่มนี้จะไปยังยั้งการสร้างหรือการทำงานของจิบเบอเรลลิน (ซึ่งมีคุณสมบัติกระตุ้นการยืดตัวและการแบ่งเซลล์) จึงแสดงผลในลักษณะตรงข้ามกับผลของจีเอคือควบคุมความสูงและขนาดทรงพุ่มของพืช เมพิควอทคลอไรด์ (mepiquat chloride) เป็นสารสังเคราะห์ที่อยู่ในกลุ่มของสารชะลอการเจริญเติบโตของพืช (Plant Growth Retardant) ซึ่งคุณสมบัติหลักของสารชะลอการเจริญเติบโตคือ ชะลอการแบ่งเซลล์และการยืดตัวของเซลล์บริเวณใต้ปลายยอดของกิ่งพืช ทำให้พืชได้รับสารมีความสูงน้อยกว่าปกตินั่นคือสารกลุ่มนี้จะไปยับยั้งการสร้างหรือการทำงานของจิบเบอเรลลิน (ซึ่งมีคุณสมบัติกระตุ้นการยืดตัวและการแบ่งเซลล์) จึงแสดงผลในลักษณะตรงข้ามกับผลของจีเอคือ ควบคุมความสูงและขนาดทรงพุ่ม่ของพืชเช่นในไม้ดอกไม้ประดับควบคุมความสูงให้มีขนาดกะทัดรัดเหมาะแก่การปลูกในกระถางหรือลดความสูงของต้นทำให้ปล้องสั้นลงในพืชไร่ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มการติดผลและคุณภาพผล เพิ่มการออกดอก ใช้ป้องกันการแตกใบอ่อนในทุเรียน ในช่วงผลอ่อนในขณะที่ผลอ่อน ทำให้ใบมีขนาดเล็ก แก่เร็วทำให้สังเคราะห์แสงได้ไว