ผักสวนครัว, คะน้า

วิธีปลูกผักอินทรีย์ อย่างง่าย

การผลิตพืชอินทรีย์นั้น หมายความว่าอย่างไร ลำดับแรกเรามาทำความรู้จักคำว่าอินทรีย์กันก่อนเลย ทุกคนอาจจะเคยได้ยินมาว่า อินทรีย์คือปลอดสารเคมี อันนั้นก็ถูกบางส่วนแต่ไม่ทั้งหมด การทำอินทรีย์เราต้องคำนึงถึงหลายปัจจัยตามหลักอินทรีย์สากลที่ในประเทศและทั่วโลกยอมรับ ซึ่งการทำอินทรีย์ที่ในในปัจจุบันผู้บริโภคหันมาสนใจผลิตภัณฑ์ที่ได้จากอินทรีย์มากขึ้น เช่น ผักอินทรีย์ ผลไม้อินทรีย์ ข้าวอินทรีย์ เป็นต้น ซึงสะท้อนให้เห็นว่าผู้คนในยุคปัจจุบันเริ่มมีการคำนึงถึงสุขภาพมากยิ่งขึ้น ผู้คนสนใจหาความรู้เกี่ยวกับการทำผักอินทรีย์ ผลไม้อินทรีย์ ข้าวอินทรีย์ รวมทั้งหาห้างร้านหรือร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าจำพวกอินทรีย์หรือ ออเกนนิคมากขึ้น ทางGurukaset จะมาแนะนำวิธีการปลูกผักปลอดสารง่ายๆไว้กินกันเองได้ที่บ้าน ตอบโจทย์กับช่วงนี้ที่หลายคนต้องทำงานอยู่กับบ้าน เป็นงานอดิเรกช่วงโควิด หรือถ้าใครมีพื้นที่ปลูกหน่อยก็ทำขายเป็นรายย่อยได้เลยนะ คร้าบบ

เริ่มจากจะยกตัวอย่างการปลูกคะน้า เป็นผักที่ทุกคนต้องรู้จักแน่นอน ในเมนูยอดฮิตในร้านอาหารตามสั่ง คือ…..คะน้าหมูกรอบ ใช่แล้วคะน้าเป็นพืชที่ปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทยทุกช่วงฤดูกาล อายุเก็บเกี่ยวสั้น 45-50 วัน ซึ่งการปลูกก็มีหลายวิธี แต่เท่าที่นิยมแอดมินมีแนะนำ 2 วิธี คือ

วิธีที่ 1. หว่านเมล็ดในแปลงหรือกระถางและรอให้โตและตัดบริโภคได้เลย อันนี้สำหรับคนที่ไม่ต้องการความเป็นระเบียบมากเหมาะกับการปลูกไว้กินเอง

การหว่านในแปลงปลูก แบบไม่ใช้ถาดเพาะ

การงอกของเมล็ด แบบใช้การหว่าน

  วิธีที่ 2. เพาะเมล็ดในกระบะเพาะให้โตสักระยะหนึ่งประมาณ 15-20 วันแล้วย้ายกล้าลงแปลงที่จัดเตรียมไว้

เพราะฉะนั้นแล้วเรามาดูวิธีทำและติดตามเจ้าคะน้าไปพร้อมกันเลย

แอดมินออกตัวก่อนนะว่าวิธีที่ 1 นั้นจะง่ายแต่การเจริญเติบโตจะไม่ดี เนื่องจากมีการแย่งอาหารกันสูง  แอดมินเลยจะเลือกใช้การปลูกเป็นวิธีที่ 2 แทนครับ เริ่มเลยนะ เริ่มจากการเตรียมอุปกรณ์การเพาะให้พร้อม

  1. ถาดเพาะ
  2. วัสดุปลูก
  3. เมล็ดพันธุ์

การเพาะกล้าในถาดเพาะนั้นไม่มีความยุ่งยากเลย แอดมินใช้ถาดเพาะหาซื้อได้ง่ายตามร้านทั่วไป ถาดเพาะอันนี้มีหลายขนาดหลายจำนวนหลุมให้เลือกนะตามความเหมาะสมเลย แต่แอดมินเลือกเป็นถาม 104 หลุม กำลังพอดี และที่สำคัญราคาถูกด้วย ส่วนวัสดุปลูกแอดมินเลือกเป็นพีทมอส เพราะว่าในช่วงเพาะกล้าพีทมอสเป็นวัสดุปลูกที่ดีมาก เมล็ดงอกแทบจะ 100% เลยล่ะ และยังเจริญเติบโตดีอีกด้วยถ้าเทียบกับดินปลูกผสมตามท้องตลาด 

1. เริ่มจากเอาพีทมอสใส่ในถาดเพาะให้เต็ม เคาะถาดเพาะให้พีทมอสอัดกันแน่นในระดับนึง (อันนี้เราจะรู้เองว่าต้องเคาะกระแทกให้แน่นอยู่ในระดับไหน เพราะถ้าพีทมอสอัดกันในถาดเพาะไม่แน่นเวลาให้น้ำหรือรดน้ำพีทมอสจะยุบตัวลงไปในถาดหลุมลึกเกินไป) 

2. รดน้ำลงถาดเพาะให้พอชุ่ม และหยอดเมล็ดคะน้าลงไปได้เลย หลุมละ 1-2 เมล็ดเต็มที่ อย่าเกิน 3 เมล็ดนะเดี๋ยวเวลาเมล็ดงอกแล้วจะแย่งน้ำแย่งอาหารและเบียดกันทำให้ต้นกล้าอ่อนแอได้ด้วย แอดมินจะใช้วิธีเอาไม้จิ้มให้เป็นหลุมเล็ก ๆ และหย่อนเมล็ดลงไปและกลบป้องกันพวกนกหรือแมลงอื่น ๆ มาแทะเมล็ดครับ

3. ในช่วง 3 วันแรกนำถาดเพาะไปไว้ในที่ร่มเพราะว่าการงอกของเมล็ดไม่จำเป็นต้องใช้แสงแดด จากนั้นรดน้ำวันละ 1-2 ครั้งสังเกตดูตามความชื้นของพีทมอสนะครับถ้าแห้งก็รดเพิ่มแต่อย่าแฉะมากครับ

4. หลังจากที่ต้นกล้างอกแล้วประมาณ 3-5 วัน ก็นำออกมาตากแดดได้แต่ก็ต้องมีอุปกรณ์พรางแสงด้วยนะครับเพราะว่าน้อง ๆ เค้ายังเด็กอยู่ยังรับแสงแดดแบบเต็มที่ยังไม่ค่อยได้

 5. อายุต้นคะน้าที่สามารถย้ายปลูกก็อยู่ที่ 15-20 วันซึ่งตอนนี้ ต้นอ่อน ก็พร้อมที่จะลงแปลงไปผจญภัยแล้วครับ แต่ที่ลืมไม่ได้คือการเตรียมแปลงปลูกครับ

6. การเตรียมแปลงให้ผสมดินร่วน 2 ส่วน ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1 ส่วน และแกลบดำ 1 ส่วน (แต่หากไม่สะดวกผสมดินเอง สามารถใช้ดินสำเร็จรูปแทนได้ แต่อย่าลืมว่าดินสำเร็จต้องห้ามมีพวกปุ๋ยเคมีสารสังเคราะห์เคมีผสมอยู่ด้วยนะครับ)

เมื่อผสมดินเสร็จแล้ว สำหรับการขึ้นแปลงก็แล้วแต่พื้นที่หากเป็นที่ไม่สม่ำเสมอกันควรจะยกแปลงขึ้นประมาณ 20 เซนติเมตร เกลี่ยให้ดินในแปลงเสมอกัน 

แน่นอนว่าการเตรียมดิน สำคัญมาก
กับการปลูกพืช เพราะนอกจากจะเป็นที่หาอาหารของรากพืชแล้วก็ยังเป็นที่อยู่อาศัยของศัตรูพืชและเชื้อราด้วยเพราะมีความชื้นอยู่ในดินศัตรูพืชจำพวกเชื้อโรคเชื้อรา จึงชอบอาศัยอยู่ในนั้นและเรามองไม่เห็นตัว
เกิดเป็นสาเหตุของการเป็นรากเน่า หรือเน่าคอดินได้หากเข้าทำลายหนักๆ แต่ส่วนใหญ่แล้วยาที่กำจัดโรคพวกนี้นั้นจะเป็นสารเคมีกำจัดโรคพืช ดังนั้นแล้วจึงไม่เหมาะกับการปลูกผักอินทรีย์ของเรา เรามีผลิคภัณทร์กำจัดโรคพืชและแมลงในการปลูกพืชอินทรย์มาแนะนำตัวแรก พลาสม่า เป็น เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราที่เข้าแย่งอาหาร
ของพวกเชื้อราร้ายทำให้ไม่มีอาหารกินแล้วสุดท้ายก็ตายไปในที่สุด 

จากประสบการณ์ของแอดมินที่เคยทำงานดูแลแปลงผักอินทรีย์มาก่อนทำให้ รู้ว่าเจ้าตัวไตรโคเดอร์มานี่แหละ
ตัวช่วยตอบโจทย์ในการแก้ไขโรครากเน่าโคนเน่าและโรคเน่าคอดินที่ได้ประสิทธิภาพดีสุดในตอนนี้

พลาสม่าเป็นเชื้อไตรโคเดอร์มาแบบผง ใช้งานง่าย แค่ฉีกซอง ผสมน้ำตามอัตราส่วน แล้วฉีดพ่นได้เลย  การที่มีสิ่งที่อำนวยความสะดวกไม่ยุ่งยากแถมย่นเวลาให้ได้เยอะมาก รวมทั้งเมื่อเทียบกับความสะดวกและประหยัดเวลาแล้วราคายังพอ ๆ กันอีก หลักการใช้ไตรโครเดอร์มาผง ก็คือ หากเป็นการป้องกันให้ผสมไตรโครเดอร์มา 20 กรัม ต่อ น้ำ 20 ลิตร แต่ถ้าหากเป็นการแก้โรคที่เป็นแล้ว ให้ผสมไตรโครเดอร์มา 40-50 กรัม ต่อ น้ำ 20 ลิตร แล้วแต่อาการของพืชนะครับว่าเป็นหนักแค่ไหน ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงก่อนจะทำการหว่านพืชหรือย้ายกล้าลงแปลง จากนั้นรดน้ำตามปกติ เชื้อก็จะเจริญอยู่ในดินเพราะว่ามีความชื้นหลังจากรดน้ำ หากในพื้นที่มีการระบาดของโรคมากก็ให้ฉีดพ่นทุก ๆ 7 วันป้องกันไว้ครับ หรือมีอีกวิธีที่ใช้กันแพร่หลายพอสมควร คือ ผสมไตรโคเดอร์มาตามอัตรส่วนคือ 20-50 กรัม ต่อ น้ำ 20 ลิตร นำเมล็ดพันธุ์ลงไปแช่ 30 นาที และนำเมล็ดไปบ่มไว้ 1 คืนก่อนจะทำการหว่านลงแปลงหรือหยอดกระถาง แต่ถ้าเป็นการย้ายกล้าปลูกก็สามารถทำได้เช่นเดียวกันก่อนจะหยอดเมล็ดลงกระบะเพาะก็ทำแบบนี้ได้ เอ้าคั่นเวลานานเกินไปแล้ว ไปต่อครับ

    ส่วนการย้ายกล้าปลูก หลังจากที่เราได้ต้นกล้าที่โตพอจะย้ายได้แล้ว คือประมาณ 15-20 วัน ก็ให้ย้ายจากถาดเพาะลงแปลงหรือกระถางที่เตรียมไว้ ระยะห่างระหว่างต้นและระหว่างแถวประมาณ 20X20 เซนติเมตร หรือแปลงไหนที่มีพื้นที่จำกัดอาจจะลดระยะห่างลงมาเป็น 15X15 เซนติเมตร ก็ได้หรือตามความเหมาะสม การใช้พลาสม่าก็ผสมน้ำตามอัตราส่วน รดหรือฉีดพ่นแปลงก่อนย้ายปลูก และหลังจากปลูกก็ฉีดป้องกันทุก 10-15 วัน ตามอาการของพืช จนถึงเก็บเกี่ยว อย่าลืมพรางแสงให้ต้นคะน้าด้วยนะครับระหว่างปลูกน้องก็อ่อนแออยู่นะพรางแสงไว้ประมาณ 2-3 วัน ก็เอาออกให้น้องสังเคราะห์แสงหาอาหารเองได้เต็มที่ หมั่นรดน้ำเช้าเย็นและดูแลวัชพืชให้ดีอยู่เสมอ ๆ 

8.เมื่อจากคะน้าเราโตได้ประมาณ 20-25 วัน หลังย้ายปลูก ก็ใส่ปุ๋ยรดน้ำแบบสม่ำเสมอ ปุ๋ยที่แนะนำก็จะเป็นปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับสูตรแต่ละคนจะใช้ เพราะพืชผักส่วนใหญ่จะเน้นใบก็ใส่ที่หมักจากมูลสัตว์เศษซากพืชหรือรกหมู ก็จะช่วยให้พืชโตไวและงาม ในรูปด้านล่างแอดมินเลือกที่จะใส่ปุ๋ยเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดอัดเม็ดที่ได้จากมูลค้างคาว มูลวัว-กระบือ และมูลไก่ รวมทั้งช่วงนี้ก็จะเริ่มมีการเข้าทำลายของศัตรูพืช จำพวกหนอนชอนใบ ด้วงหมัดผัก การกำจัดโดยชีววิธีที่แอดมินแนะนำเลยก็คือ ใช้คีย์เวอเรีย  เป็นเชื้อราบิวเวอเรียแบบผงสำเร็จรูป เป็นเชื้อราปฏิปักษ์กับศัตรูพืชจำพวกหนอนแมลงต่าง ๆค่อนข้างกว้างเลยทีเดียว การเข้าทำลายของคีย์เอวเรียนนี้คือ ผลิตเอนไซม์ที่เป็นพิษต่อแมลง สปอร์เชื้อราถ้าตกติดอยู่กับผนังลำตัวแมลง เข้าสู่ตัวแมลงทางผนังลำตัว รูหายใจ บาดแผลบนผนังลำตัว เมื่อมีความชื้นเหมาะสมกับการงอก สปอร์จะแทงทะลุผิวหนังลำตัว เชื้อราจะงอกสู่ช่องว่างลำตัวแมลง เจริญเติบโตสร้างเส้นใยมากมาย และทำลายแมลงในที่สุด เมื่อแมลงตาย เส้นใยจะแทงทะลุผ่านผนังลำตัวแมลงออกสู่ภายนอก สำหรับการใช้เชื้อแบบผงสำเร็จ ไม่ต้องไปเพาะเชื้อให้ยุ่งยากเสียเวลา เช่นเดียวกับเชื้อไตรโคเดอร์มาเลยครับ วิธีการใช้ก็แทบจะไม่ต่างกันคือ ผสมเชื้อผง 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หากอาการหนักจะรักษาก็ผสมเชื้อผง 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ทั้งนี้ ยังมีเชื้อราอีก 1 ชนิดที่สามารถกำจัดศัตรูพืชจำพวกแมลงโดยเฉพาะจำพวกด้วงต่าง ๆ คือ เชื้อ เมตาไรเซียม การเข้าทำลายแมลงก็จะคล้าย ๆ บิวเวอเรียแต่ต่างกันที่ เชื้อบิวเวอเรียจะ ผลิตเอนไซม์ที่เป็นพิษต่อแมลง แต่ เชื้อ เมตาไรเซียม สามารถควบคุมและทำลายแมลงได้โดยเข้าสู่ร่างกายแมลงทางผิวหนังหรือช่องว่างของลำตัวจากนั้นจะสร้างเอนไซม์เพื่อช่วยย่อยผนังลำตัวบางส่วนและงอกสปอร์แทงผ่านตัวเข้าไปเจริญเติบโตและเพิ่มปริมาณขึ้นทำให้แมลงเกิดโรคตายในที่สุด แมลงที่ตายด้วยเชื้อราเมตาไรเซียมจะมีลักษณะลำตัวแข็งมีเชื้อราขึ้นปกคลุมลำตัวกายงอกเป็นสีเขียว สามารถฉีดควบคุมแมลงในดิน หรือแมลงบินที่มาเกาะกินใบได้การใช้งานก็เหมือนกับเชื้อบิวเวอเรียเลยครับผม

 *** ข้อแนะนำ*** เนื่องจากเชื้อไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราที่เข้าทำลายเชื้อราด้วยกันเองการฉีดพ่นใบหรือดินให้เว้นระยะการฉีดพ่นสลับกับเชื้อบิวเวอเรียประมาณ 3 วัน มิเช่นนั้นถ้าหากฉีดพร้อมกันหรือฉีดในเวลาไล่เลี่ยกันเชื้อบิวเวอเรียอาจจะไม่ได้ผลในการป้องกันแมลง เนื่องจากอาจจะโดนเชื้อไตรโคเดอร์มาเข้ามากินจนหมด

 ในรูปจะสังเกตุอาการความแตกต่างได้อย่างชัดเจนและแยกออกได้ง่ายมาก ต้นที่ไม่ได้ฉีดเกิดเชื้อราน้ำค้างเข้าทำลายที่ใบเป็นจุด ฝั่งขวาของใบ และใบฉีกแตก ส่วนต้นที่ฉีดป้องกันนั้นใบปกติไม่มีรอยเข้าทำลายหรือฉีกขาด บางคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ก็แค่ตัดใบที่เป็นโรคทิ้งก็ได้ ก็ตัดวงจรเชื้อราได้แล้ว แต่แอดมินจะให้ดูรูปด้านล่างเปรียบเทียบถึงความแตกต่างกระถางควบคุมที่ไม่ได้ฉีดเชื้อไตรโคเดอร์มาและบิวเวอเรียป้องกัน และกระถางที่ฉีดป้องกัน การเข้าทำลายของโรคและแมลงมีผลต่อการเจริญเติบโตของคะน้าอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากเชื้อราหรือแมลงเข้าทำลายที่ใบทำให้ใบไม่สามารถสังเคราะห์แสงปรุงอาหารได้เต็มที่ ทำให้เจริญเติบโตช้ากว่าปกติ

กระถางสีน้ำตาลคือกระถางที่ฉีดป้องกัน   กระถางสีดำคือกระถางควบคุมที่ไม่ได้ฉีดป้องกัน

9.หลังจากผ่านไปครบ 45-50 วันแล้วเราก็สามารถเก็บคะน้าของเราเอาไปทำคะน้าหมูกรอบที่แสนอร่อยได้แล้วครับ

ไม่ยากเลยใช่ไหมล่ะผักอินทรีย์ที่แสนอร่อยทำง่ายกว่าที่คิด ถ้าเพื่อนๆสงสัยหรือมีวิธีที่ได้ผลและระยะเวลาที่สั้นกว่านี้สามารถแสดงความคิดเห็นสอบถามหรือบอกแอดมินมาได้เลยนะ ครั้งหน้าแอดมินจะพาไปเรียนรู้วิธีทำเกษตรแบบไหนอย่าลืมติดตามกันไว้นะครับ แล้วพบกันกับ GURU Kaset