เทคนิคการเกษตร

งานวิจัยชี้ขนพืชบางชนิดสามารถทำให้ศัตรูพืชไส้รั่วได้!

งานวิจัยชี้ขนพืชบางชนิดสามารถทำให้ศัตรูพืชไส้รั่วได้!

พืชมีระบบการป้องกันตัวเองที่น่าสนใจและในหลายๆครั้งก็แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างภายในที่รัดกุมเพียงพอต่อการป้องกันแมลงที่เข้ามาลุกล้ำได้ซึ่งความสามารถดังกล่าวถือว่าเป็นอะไรที่พิเศษเพราะหากนักวิทยาศาสตร์เข้าใจก็สามารถที่จะมีทางเลือกในการป้องกันศัตรูพืชในอนาคตได้เช่นกันและแล้วนักวิจัยจาก Penn State ก็ชี้ว่า “ขนพืช” เป็นกลยุทธ์การป้องกันตัวของพืชที่สำคัญอีกหนึ่งจุด

ขนพืชที่กล่าวไปนั้นอยู่ในพืชเศรษฐกิจที่เรารู้จักกันดีอย่างข้าวโพดซึ่งง่ามของข้าวโพดนั้นสามารถทำให้แมลงผู้บุกรุกนั้นเกิดอาการใส่รั่วได้เลยทีเดียวโดย Charles Mason (ชาร์ลส์ เมสัน) ผู้เขียนงานศึกษานี้กล่าวเสริมว่า “เราพบว่าระบบการป้องกันโดยรวมทั้งหมดทางด้านกายภาพและเคมีของข้าวโพดนั้นสามารถทำลายกำแพงป้องกันลำไส้ของหนอนตกในฤดูใบไม้ร่วงซึ่งทำให้จุลินทรีย์ในลำไส้เข้าบุกรุกไปในโพรงร่างของตัวหนอนได้” “สิ่งที่เกิดต่อตามมาคือโอกาสในการเกิดโลหิตเป็นพิษซึ่งสามารถปลิดชีพหรือทำให้ภูมิคุ้มกันต่างๆของแมลงต่ำลง”

image: phys.org

งานวิจัยได้ทำการฉีดเชื้อแบคทีเรียในลำไส้เข้าไปในกระเพาะอาหารโดยเป็นแบคทีเรียในลำไส้ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติสามชนิด จากนั้นตัวหนอนจะได้รับพืชข้าวโพดที่มีระบบกลไกการป้องตัวที่แตกต่างกันไปสามแบบโดยชนิดหนึ่งจะมีขนเส้นเล็กๆจำนวนมากบนใบที่ช่วยป้องกันสัตว์กินพืช อีกประเภทหนึ่งมาพร้อมกับเอนไซม์ที่ทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารเบาบางลงจนทะลุในที่สุดและประเภทสุดท้ายคือมีขนสั้นๆ 

สุดท้ายนักวิจัยได้ผลออกมาว่าเยื่อบุลำไส้ของไส้เดือนนั้นไม่ได้เป็นผลมาจากการกินพืชที่มาพร้อมเอนไซม์ที่ทำให้เยื่อบุลำไส้ทะลุได้แต่เป็นผลจากการที่กินข้าวโพดที่มาพร้อมขนเส้นเล็กๆจำนวนมากและนี่อาจเป็นผลลัพธ์ที่นักวิทย์รวมไปถึงเกษตรกรหาวิธีประยุก์เพื่อนำไปป้องกันศัตรูพืชได้ดียิ่งขึ้น

image: phys.org

ที่มา – PHYS.ORG