ผักสวนครัว, เทคนิคการเกษตร

เผยสเปียร์มินท์และกระเทียมไล่ศัตรูพืชได้เฉียบขาดที่สุด!

ทุกคนๆอาจรู้กันมาบ้างว่ากลิ่นของพืชในบางชนิดนั้นมาพร้อมความสามารถในการไล่แมลงรวมไปถึงศัตรูพืชนานาชนิดแต่เราก็ไม่ได้มีความรู้ที่แน่ชัดหนักแน่นลงไปว่าแท้จริงแล้วพืชชนิดใดที่มีกลิ่นที่สามารถขับไล่เหล่าศัตรูพืชได้ดีเหนือกว่าพืชชนิดอื่นๆซึ่งนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยเวอร์มอนต์ก็ได้ลงลึกกว่าเดิมด้วยการพัฒนารูปแบบของกลิ่นพืชที่สามารถขับไล่ศัตรูพืชได้อย่างแท้จริงและเป็นครั้งแรกที่มีการศึกษาความเหมือนของกลิ่นพืชและพันธุศาสตร์ที่มีรูปแบบเดียวกันของพืชที่มีขับไล่แมลงได้
ทุกคนๆอาจรู้กันมาบ้างว่ากลิ่นของพืชในบางชนิดนั้นมาพร้อมความสามารถในการไล่แมลงรวมไปถึงศัตรูพืชนานาชนิดแต่เราก็ไม่ได้มีความรู้ที่แน่ชัดหนักแน่นลงไปว่าแท้จริงแล้วพืชชนิดใดที่มีกลิ่นที่สามารถขับไล่เหล่าศัตรูพืชได้ดีเหนือกว่าพืชชนิดอื่นๆซึ่งนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยเวอร์มอนต์ก็ได้ลงลึกกว่าเดิมด้วยการพัฒนารูปแบบของกลิ่นพืชที่สามารถขับไล่ศัตรูพืชได้อย่างแท้จริงและเป็นครั้งแรกที่มีการศึกษาความเหมือนของกลิ่นพืชและพันธุศาสตร์ที่มีรูปแบบเดียวกันของพืชที่มีขับไล่แมลงได้
 
ผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยเวอร์มอนต์ค้นพบว่าพืชที่มีน้ำมันหอมระเหยชนิดพิเศษอย่าง กระเทียม สเปียร์มินท์ โหระพา ยูคาลิปตัส มะนาวและเปลือกอบเชยนั้นทรงประสิทธิภาพเอามากๆแต่หากหยิบยกพืชที่มีกำลังมากที่สุดในการต้านทานศัตรูพืชมาให้เหลือเพียงหนึ่งเดียวนั่นคือสเปียร์มินท์ที่ขับไล่สิ่งกวนใจในการทำเกษตรกรรมได้ชะงัก อย่างไรก็ตามรายชื่อพืชข้างต้นเป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับชาวเกษตรกรที่ยังหาทางกำจัดศัตรูพืชได้ไม่ดีนัก
 

image: daily mail

 
ศาสตราจารย์ Yolanda Chen (โยลันดา เฉิน) ชี้เพิ่ม “คนมักคิดกันว่าน้ำมันพืชที่มีกลิ่นหอมมากกว่าอย่าง สะระแหน่ ใบโหระพาและลาเวนเดอร์จะช่วยขับไล่แมลงได้ดีกว่า อย่างไรก็ตามพวกแมลงและศัตรูพืชกลับไม่ได้รับรู้และเลือกที่จะสัมผัสกับพืชกลิ่นแบบนั้นเหมือนกับที่มนุษย์เลือก นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมสะระแหน่ ใบโหระพาและลาเวนเดอร์ไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีในการขับไล่ศัตรูพืช 
 
นอกจากนั้นผลการวิจัยยังชี้ว่าพืชที่ประกอบด้วยกลิ่นที่แตกต่างกันมากในโครงสร้างทางเคมีมีแนวโน้มที่จะขับไล่แมลงได้มากกว่า แม้ว่าสเปียร์มินท์จะมาความเฉียบคมในการไล่แมลงแต่ในบางครั้งบางพื้นที่กระเทียมก็เป็นหนึ่งในการขับไล่แมลงได้อย่างมีประสิทธิภาพตามธรรมชาติ
 

image: pixabay

ที่มา – SCIENCE DAILY // DAILY MAIL