เทคนิคการจัดการทุเรียน, ขั้นตอนการผลิดทุเรียน, ทุเรียน, ผลไม้, พืชสวน

ทุเรียน : การจัดการน้ำเพื่อชักนำการออกดอก

โดยปกติแล้ว น้ำถือเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการต่างๆของพืช ถ้าไม่มีน้ำ ธาตุอาหารต่างๆ ก็ไม่สามารถถูกดูดไปใช้งานได้ พืชก็ไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ เพียงแต่พืชไม่ได้ดูดกินน้ำแบบคนเราที่กินน้ำเป็นอึกๆ เข้าไปเลย แต่จะมีตัวกลางคือดินที่จะอุ้งน้ำไว้ หรือเก็บความชื้นไว้นั้นเอง ดังนั้นการสังเกตุว่าน้ำเพียงพอหรือไม่ก็คือความชื้นในดิน

มาที่การให้น้ำทุเรียนในระยะที่ต้องการดอก ในสมัยก่อนนั้นเกษตรกรจะรอให้ใบแก่ใบตัน แล้วก็จะนิยมทิ้งน้ำหรืออดน้ำนาน เมื่อต้นไม้โสกจัดๆก็จะอัดน้ำหรือบางคนก็แค่โชยๆน้ำ แต่ด้วยสภาวะอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ในยุคนี้ ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศที่ต่ำ ลมแรง และอากาศที่ร้อนมากในช่วงเวลากลางวัน ทำให้ดินสุญเสียความชื้นไปอย่างรวดเร็วต่างจากในสมัยก่อนที่ความหนาวเย็นยาว ความชื้นในอากาศยังคงมีอยู่สูง เมื่ออดน้ำหรือทิ้งน้ำนานๆ ทำให้ต้นพืชเกิดสภาวะขาดน้ำ ธาตุอาหารต่างๆจะไม่ถูกส่งขึ้นไปที่ใบ เมื่อไม่มีการสร้างอาหารใหม่ ต้นไม้ก็จะไปดึงอาหารเก่าที่อยู่ที่ใบ ทำให้ใบมีอาการเหลืองร่วง โดยวิธีสังเกตุคือใบจะเริ่มเหลืองและร่วงจากใบในก่อน  ช่วงนี้อาจเกิดความสับสนเกษตกรหลายท่านเห็นแล้งแล้วใบร่วงเยอะก็เข้าใจว่าสาเหตุเกิดจากไรแดง ทำให้เปลืองต้นทุนโดยเปล่าประโยชน์ ถ้าใบเหลืองมากถ่ายใบเยอะ ก็จะทำให้ต้นเสียกำลัง จะส่งผลกระทบทำให้อาหารไม่พอเลี้ยงผล ทำให้แตกใบอ่อนมาก ผลหลุดร่วง

ลักษณะใบเหลือง ร่วงเนื่องจากขาดน้ำ

เนืองจากทุเรียนเป็นพืช รากไม่ลึก จึงเป็นพืชที่ตอบสนองต่ออากาศได้เร็ว เพียงแค่ได้รับความแห้งแล้วนิดหน่อยถ้าต้นมีความสมบูรณ์ดีการออกดอกก็เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นการบริหารน้ำเพื่อชักนำการออกดอกในยุคนี้จึงจำเป็นต้องปรับให้เข้ากับสภาพอากาศในปัจจุบันโดยสังเกตุได้ดังนี้

  1. สภาพ ความพร้อมของใบ ยอดต้องเริ่มตั้ง ไม่โค้งงอลง ใบเริ่มแก่เขียวเข้ม
  2. เมื่อใบแก่ดีแล้วให้เว้นน้ำโดยคอยสังเกตุใบในช่วงระยะเวลาประมาน 9-10 โมงเช้า หากเริ่มมีอาการสลด ก็ให้น้ำในวันรุ่งขึ้น ในครั้งแรกนี้เราจะให้น้ำมากเพื่อกระตุ้นการเคลื่อนของตาดอก โดยจะให้น้ำในปริมาณ 100 % (ขึ้นอยู่กับสภาพดินของแต่ละสวน)
  3. หลังจากให้น้ำครั้งแรก ก็ทำตามขั้นตอนที่ 2 เหมือนเดิมโดยสังเกตุใบสลด แต่การให้น้ำครั้งที่ 2 เราจะเปลี่ยนมาเป็นการโชยน้ำเพื่อรักษาระดับฮอโมนในต้นโดยจะให้ในระดับ 20% เท่านั้น  หลังจากนั้นเริ่มสังเกตุตุ่มตาดอกถ้าเริ่มมีตุ่มตากตามปลายกิ่งก็สามารถใช้ปัจจัยชุดเปิดตาดอกช่วยในการดึงดอกได้หลังจากให้น้ำ
  4. เมื่อตาดอกมาพอแล้วก็ทำการกระแทกน้ำ เต็มที่ 100 % เพื่อกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนจิ๊บในการช่วยให้ดอกพัฒนาต่อไป

ชุดเปิดตาดอกทุเรียน

820.00 ฿
ชุดเปิดตาดอกทุเรียน ช่วยให้ทุเรียนออกดอกมากขึ้น ออกดอกได้สม่ำเสมอขึ้น ในชุด ประกอบด้วย แคลชั่น         อัตราการใช้ 300 ซีซี/200 ลิตร ดอกมาชัวร์   อัตราการใช้ 300 ซีซี/200 ลิตร 13-0-46       อัตราการใช้ 0.5-1 กิโล/200 ลิตร
เพิ่มสินค้าในตะกร้า

แคลชั่น (แคลเซียมโบรอน)

230.00 ฿3,800.00 ฿
คุณสมบัติ ธาตุอาหารรอง แคลเซียม (CaO).........................................................................10 % ธาตุอาหารเสริม โบรอน(B)...................................................................................0.25 % แคลเซียมโบรอน อยู่ในรูปละลายน้ำได้ดี พืชสามารถดูดซึมนำไปใช้ได้ทันที มีอะมิโนแอซิด ช่วยเพิ่มการดูดซึม และเคลือนย้ายแคลเซียมโบรอนในพืช ประโยชน์ เพิ่มการผสมเกสร ติดผลดก ผลการหลุดร่วงของผล ช่วยให้ดอกสมบูรณ์แข็งแรง ป้องกันผลแตก เนื้อแน่น สีสวยสด รสชาติดี ทำให้พืชแข็งแรง ทนต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลง อัตราการใช้ 100-200 ซีซี