ในปัจจุบัน การหา”โหระพา” ที่มีคุณภาพนั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายซักเท่าไหร่ อย่างไรก็ตามคงไม่ต้องถึงขั้นไปตามหาที่ดาวดวงอื่นแต่ก็ต้องอาศัยความรอบรู้และกระบวนการที่แตกต่างออกไปซึ่งทีมนักวิทย์ของ MIT ก็อยู่เบื้องหลังความน่าตื่นตาตื่นใจของ Climate Recipe
ทีมนักวิทยาศาสตร์ของ MIT ได้ริเริ่มกระบวนการเกษตรกรรมในรูปแบบใหม่พร้อมทั้งให้ชื่อมันว่า “เกษตรกรรมไซเบอร์” โดยเป็นวิธีการปลูกพืชภายในตู้คอนเทนเนอร์ที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์เทคโนโลยีไฮเทคจำนวนมากมายซึ่งทั้งหมดมีไว้เพื่อควบคุมความเป็นไปของพืชให้อยู่ในสภาพที่ดีแม้ต้องเจอกับสภาพแวดล้อมภายนอกที่แปรปรวนอยู่ตลอด

image: neuro hive
สิ่งที่ทำให้ทุกอย่างอยู่ในขอบเขตที่ควบคุมได้คือการใช้คอมพิวเตอร์ที่มีความสลับซับซ้อนเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของพืชเมื่อเวลาผ่านไปในขณะเดียวกันก็ทำการหาอุณหภูมิที่เหมาะสม ความชื้น ระดับแสงอัลตร้าไวโอเลตและเวลาในการรับแสงเพื่อวางปัจจัยที่ดีให้กับโหระพารุ่นใหม่ที่สมบูรณ์และรสชาติดียิ่งขึ้นโดยพวกเค้าขนานนามวิถีดังกล่าวเอาไว้ว่า “climate recipe” หรือ “สูตรตามสภาพอากาศ” แต่แท้จริงแล้วมันคือการใช้ Machine Learning ในการทำฟาร์มไปแล้ว
สถานที่ในการดำเนินการวิจัยทั้งหมดนั้นอยู่ที่ Middleton ที่รัฐ Messachusette ในอเมริกาซึ่งการขลุกอยู่ที่นั่นก็ทำให้พวกเค้าค้นพบสูตรสำเร็จที่น่าสนใจ ตัวอย่างเช่น พืชมีแนวโน้มที่จะมีรสชาติดีขึ้นเมื่อมีโอกาสสัมผัสแสงตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน (โดนแสงทั้งวันนั่นเอง) ซึ่งการเปิดเผยสูตรดังกล่าวเป็นประโยชน์ยิ่งและอาจทำให้เกิดการทำฟาร์มในเมืองที่แตกต่างออกไปจากที่เราเคยรู้จักกัน

image: spring wise
CREDITS: SPRING WISE // NEURO HIVE