รูปร่างลักษณะ : ตัวเต็มวัยมีขนาดลำตัวยาว 3.0-4.0 มิลลิเมตร มีสีดำมันปนน้ำตาล รูปร่างทรงกระบอก หัวและท้ายตัด ตัวเต็มวัยจะเจาะเข้าไปที่กิ่งหรือลำต้นทำให้เป็นรูพรุน หลังจากผสมพันธุ์ตัวเมียจะวางไข่ เป็นกลุ่มประมาณ 5-8 ฟองในรูที่เจาะ เมื่อไข่ฟักเป็นตัวหนอนก็จะกัดกินชอนไชภายในกิ่งและลำต้นทุเรียน และเข้าดักแด้อยู่ภายในรูที่มอดอาศัยอยู่นั่นเอง ต่อจากนั้นก็จะเจริญเป็นตัวเต็มวัย ผสมพันธุ์และ วางไข่ต่อไปอีก สาหรับด้วงชนิดนี้จะพบเพศเมียมากกว่าเพศผู้ถึง 10 เท่า เมื่อผสมพันธุ์แล้วเพศเมียจะ บินไปยังต้นอื่น แต่เพศผู้ไม่บิน วงจรชีวิตประมาณ 30-35 วัน และเพศเมียตัวหนึ่งสามารถขยายพันธุ์ ได้ 30-50 ตัว
พบระบาดตลอดปีในบริเวณที่ปลูกทุเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จังหวัด จันทบุรี ระยอง และตราด เกือบทุกสวนจะพบมอดชนิดนี้ พบการระบาดของ มอดร่วมกับโรครากเน่าโคนเน่ามาก เนื่องจากมีฝนตกชุกตลอดปี
ลักษณะการทำลาย : มอดเจาะลำต้นเป็นแมลงศัตรูทุเรียนที่พบระบาดในแหล่งปลูกทุเรียนบางเขตตัวหนอนและตัวเต็มวัยจะเจาะเข้าไปกินในลำต้นและกิ่งของทุเรียนส่วนมากพบการเข้าทาลายบริเวณโคนต้นและกิ่งทุเรียนที่เป็นโรครากเน่าโคนเน่าต้นทุเรียนที่ถูกแมลงชนิดนี้ทาลายสังเกตได้ง่ายคือมีรูพรุนตามโคนต้นและที่ปากรูมีมูลของหนอนมีลักษณะเป็นขุยละเอียดอยู่ทั่วไปมอดจะเจาะเข้าไปกินในลำต้นหรือกิ่งลึกตั้งแต่ 2.0-3.0 เซนติเมตรขึ้นไปหากเป็นทุเรียนต้นเล็กทำให้ต้นตายได้สาหรับทุเรียนต้นใหญ่ที่มีมอดเข้าทาลายน้อยจะไม่เป็นอันตรายมากนักแต่รอยเจาะของมอดเป็นทางให้เชื้อสาเหตุของโรครากเน่าโคนเน่าเข้าทาลายหรือทำให้โรคแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของต้นทุเรียนและทำให้ทุเรียนตายได้
การป้องกันกำจัด :
1. หมั่นตรวจดูตามลาต้นทุเรียนถ้าพบกิ่งแห้งที่ถูกมอดทำลายควรตัดและเผาไฟทิ้งเสียอย่างปล่อยทิ้งไว้ให้มอดขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณและระบาดไปยังต้นอื่นๆ
2. สาหรับส่วนของต้นทุเรียนที่ไม่สามารถตัดทิ้งได้เช่นลำต้นหรือกิ่งใหญ่อาจจำเป็นต้องใช้สารฆ่าแมลงเช่นคลอร์ไพริฟอส อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้า 20 ลิตรหรือฟิโพรนิล อัตรา30 มิลลิลิตรต่อน้า 20 ลิตรพ่นบนลำต้นหรือกิ่งที่มีรูมอด หรือใช้คลอร์ไพริฟอส อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้า 5 ลิตรหรือฟิโพรนิล อัตรา30 มิลลิลิตรต่อน้า 5 ลิตรผสมกับ ยาเชื้อรา ทาบริเวณแผลที่เน่า