พืชสวน, ทุเรียน, ผลไม้, โรคและแมลงทุเรียน

ไรแดงแอฟริกัน (African red mite)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eutetranychus africanus (Tucker)

รูปร่างลักษณะไรแดงแอฟริกันเพศเมียมีลักษณะกลมแบนความยาวของลำตัวโดยเฉลี่ย 0.418 มิลลิเมตรกว้าง 0.350 มิลลิเมตรลำตัวสีน้าตาลเข้มหรือน้ำตาลอมเขียวขาทั้ง 4 คู่สีเหลืองอ่อนที่ปลายขาไม่มี empodium มีตาเป็นจุดสีแดงเล็กๆอยู่บริเวณ 2 ข้างของลำตัวตอนหน้าขนบนหลังสั้นปลายขนบานออกคล้ายกระบองหรือใบพายส่วนขนด้านท้องเป็นเส้นเล็กๆปลายเรียวแหลมธรรมดาและจะมีขนอยู่ที่ฐานของ coxa คู่ที่ 2 จำนวน 2 เส้นเพศผู้มีขนาดเล็กกว่าเพศเมียลำตัวเรียวแคบก้นแหลมขายาวลำตัวสีน้ำตาลอ่อนอวัยวะเพศผู้มีแกนใหญ่ปลายเรียวเล็กและโค้งงอขึ้น

ไรแดง

ลักษณะการทำลายไรซึ่งเป็นศัตรูของทุเรียนในประเทศไทยรวม 3 ชนิดคือ Eutetranychus africanus (Tucker), Oligonychus biharensis (Hirst) และ Tetranychus fijiensis (Hirst) แต่ชนิดที่สาคัญและเป็นศัตรูก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทุเรียนอย่างรุนแรงในปัจจุบันคือ E. africanus ไรชนิดนี้ดูดทำลายอยู่บริเวณหน้าใบทุเรียนโดยเฉพาะตามแนวเส้นกลางใบทำให้เกิดเป็นจุดประสีขาวกระจายอยู่ทั่วไปบนใบในระยะแรกต่อมาจุดประสีขาวนั้นจะแผ่ขยายออกไปเป็นบริเวณกว้างจนทำให้ทั่วทั้งใบทุเรียนมีอาการขาวซีดไม่เขียวเป็นมันเหมือนใบปกติและมีคราบสีขาวของไรเกาะติดอยู่บนใบเป็นผงขาวๆคล้ายฝุ่นจับหากการทำลายของไรยังคงดำเนินอยู่ต่อไปอย่างรุนแรงและต่อเนื่องอาจทำให้ทุเรียนใบร่วงมีผลกระทบต่อการออกดอกและติดผลของทุเรียนได้

ไรแดงแอฟริกัน จัดเป็นศัตรูที่สาคัญของทุเรียนทางภาคตะวันออกของประเทศไทย โดย พบระบาดและทำความเสียหายแก่ทุเรียนอยู่เสมอ ไรแดงชนิดนี้ นับวันจะทวีความสำคัญ และเป็นศัตรูที่ เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในส่วนอื่นของประเทศควรให้ความสนใจอย่างใกล้ชิด การระบาดของไรชนิดนี้ นอกจากจะเกิดขึ้นได้โดยลมพาไป โดยติดไปกับขาของแมลง นก หรือสัตว์ต่างๆ ที่มาสัมผัสแล้ว ยังอาจ ติดไปกับต้นหรือกิ่งพันธุ์ที่เกษตรกรนำไปปลูก ปัจจุบันสารเคมีหลายชนิดที่เกษตรกรเคยใช้ในการพ่นเพื่อ ป้องกันและกำจัดไรศัตรูทุเรียนนั้น เริ่มใช้ไม่ได้ผลกับไรชนิดนี้

ลักษณะการเข้าทำลายของไรแดง

การป้องกันกำจัด :

สารฆ่าไรที่ได้ทดสอบประสิทธิภาพในการใช้ควบคุมปริมาณประชากรไรแดงแอฟริกันในสวนทุเรียนแล้วได้ผลดีได้แก่โพรพาร์ไกด์, เฮกซี่ไทอะซอกซ์ , อะมิทราซหรือไพริดาเบน

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง