ชื่อวิทยาศาสตร์ : Planococcus minor(Maskell)และPlanococcus lilacinus(Cockerell)
รูปร่างลักษณะ :เพลี้ยแป้งเพศเมียมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 3.0 มิลลิเมตรมีสีเหลืองอ่อนหรือชมพูลักษณะอ้วนสั้นมีตัวสีขาวคล้ายผงแป้งปกคลุมลำตัวอยู่ไข่เป็นกลุ่มจานวนไข่แต่ละกลุ่ม 100-200 ฟองเพศเมียตัวหนึ่งสามารถวางไข่ได้ 600-800 ฟองภายในเวลา 14 วันไข่จะฟักอยู่ในถุงใต้ท้องเพศเมียระยะไข่ประมาณ 6-10 วันเพศเมียเมื่อวางไข่หมดแล้วจะตายไปตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ๆมีสีเหลืองอ่อนไม่มีผงสีขาวตัวอ่อนจะคลานออกจากกลุ่มไข่เพื่อหาที่เหมาะสมเพื่ออยู่อาศัยเพศเมียมีการลอกคราบ 3 ครั้งและไม่มีปีกส่วนเพศผู้ลอกคราบ 4 ครั้งมีปีกและมีขนาดเล็กกว่าเพศเมียเพศเมียจะวางไข่หลังการลอกคราบครั้งที่ 3 เพลี้ยแป้งสามารถขยายพันธุ์ได้ 2-3 รุ่นใน 1 ปีในระยะที่พืชอาหารไม่เหมาะสมเพลี้ยแป้งจะอาศัยอยู่ใต้ดินตามรากพืชเช่นหญ้าแห้วหมูการเคลื่อนที่ของเพลี้ยแป้งจะอาศัยมดซึ่งคอยกินสิ่งที่ขับถ่ายจากเพลี้ยแป้งเป็นตัวพาไป
เพลี้ยแป้งมักจะระบาดทำความเสียหายแก่ผลทุเรียน ตั้งแต่ระยะที่ทุเรียนเริ่มติดผล จนกระทั่งผลโตเต็มที่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยว
ลักษณะการทำลาย :
เพลี้ยแป้งเป็นแมลงศัตรูที่สาคัญพบระบาดทำความเสียหายต่อทุเรียนในแปลงปลูกทั่วไปโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากบริเวณกิ่งช่อดอกผลอ่อนผลแก่โดยมีมดดำเป็นตัวช่วยคาบพาไปตามส่วนต่างๆของพืชส่วนที่ถูกทำลายจะแคระแกร็นนอกจากนี้เพลี้ยแป้งจะขับน้ำหวาน (honey dew) ออกมาเป็นเหตุให้ราดำเข้าทาลายซ้ำถ้าเพลี้ยแป้งเข้าทำลายทุเรียนผลเล็กจะทำให้ผลแคระแกร็นไม่เจริญเติบโตต่อไปแต่ถ้าเป็นทุเรียนผลใหญ่ถึงแม้จะไม่ทำให้เนื้อของทุเรียนเสียหายแต่ก็จะทาให้คุณภาพของผลทุเรียนเสียไปราคาตกและเป็นที่รังเกียจของผู้บริโภค

การป้องกันกำจัด
1. ในบางครั้งเมื่อพบเพลี้ยแป้งบนผลทุเรียนอาจใช้น้ำพ่นให้เพลี้ยแป้งหลุดไป หรือการใช้น้ำผสมไวท์ออยส์ อัตรา 200 มิลลิลิตรต่อน้า 200 ลิตร จะช่วยในการกาจัดเพลี้ยแป้งได้ดีเช่นเดียวกัน
2. เนื่องจากเพลี้ยแป้งแพร่ระบาดโดยมีมดพาไป การป้องกันโดยใช้ผ้าชุบสารฆ่าแมลง เช่น มาลาไธออน (มาลาไธออน 83% อีซี) อัตรา 200 มิลลิลิตร หรือ คาร์บาริล (เซฟวิน 85% ดับบลิวพี อัตรา 100 กรัม หรือ คลอไพริฟอส 300 มิลลิลิตร ต่อน้า 200 ลิตร พันไว้ตามกิ่ง หรือการฉีดพ่นไปที่โคนต้นและกิ่งจะช่วยป้องกันมดและลดการเข้าทาลายของ เพลี้ยแป้งได้มาก