ตอนนี้มีปัญหาของการผลิตทุเรียน ที่หลายๆสวนเป็นคือปีนี้คือทุเรียนทรงออกยาวลีบๆพูไม่ค่อยเป่ง หลายคนคงสงสัยว่าเกิดจากอะไรวันนี้เรามาดูสาเหตุของปัญหากัน
1. การผสมเกษร การผสมเกษรที่ไม่ดีในช่วงดอกบาน ทำให้ไม่มีเมล็ด ซึ่งเมล็ดนี้เองจะเป็นตัวสั่งงานในการดึงอาหารและกักเก็บอาหาร พอไม่มีเมล็ด หรือ เมล็ดไม่สมบูรณ์ ทำให้การดึงอาหารไม่ดีสู้ พูที่สมบูรณ์ไม่ได้ พูที่ดึงอาหารได้ดีก็โตป่องพูที่ดึงอาหารสู้ไม่ได้ก็ลีบ จึงเกิดเป็นอาการบิดเบี้ยว
2. ฝน
ปีนี้เป็นปีที่ฝนเยอะ และ ตกเป็นช่วงๆ ในน้ำฝนนั้นเป็นปัจจัยในการกระตุ้นฮอร์โมนจิ๊บชั้นดี เมื่อมีฮอร์โมนจิ๊บสูงผลคือทุเรียนจะขยายบนและล่าง มีทรงยาว และเปลือกหนา
3. การแตกใบอ่อน ถ่ายใบ
สังเกตุได้จากช่วงลูกทุเรียนขนาด 20-40 วันมามีขนาดสวยมาก แต่พอต้นมีอาการแตกใบอ่อน ต้นจะมีคำสั่งให้ความสำคัญกับใบก่อน ดังนั้นอาหารส่วนใหญ่จะถูกดึงเพื่อไปเลี้ยงที่ใบเพื่อที่จะให้ใบแก่เร็วที่สุด เป็นผลทำให้ลูกได้รับอาหาร ไม่พอเกิดอาการบิดเบี้ยว
แล้วจะแก้ไขได้อย่างไร?
โดยปกติแล้วถ้าในพูทุเรียนที่มีเมล็ดสมบูรณ์ พัฒนาจนเต็มที่แล้วก็จะส่งอาหารไปยังพูข้างเคี้ยงทำให้พูข้างเคียงพัฒนาขึ้นมาได้โดยสังเกตุได้จากตอน 60 วัน พูไม่เป่ง แต่พออายุเข้า 80 กว่าวัน พูเริ่มฟื้นดีขึ้นเป่งขึ้น แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆที่มีส่วนสำคัญดังนี้
1. ผลยังไม่เต็มร่าง เพราะถ้าผลเต็มร่างแล้วการพัฒนาจะเป็นไปได้ยาก โดยทั่วไปจะอยู่ที่ไม่เกิน 90 วันหลังดอกบาน แต่ก็มีวิธีสังเกตุง่ายๆเช่นกัน เช่นปลายหนามยังสีชมพู จุกหนามด้านล่างยังชี้ลง
- ใบ ถือเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาของผลเพราะใบเปรียบเสมือนโรงครัวคอยปรุงอาหารส่งให้ผล ถ้าพื้นใบดีโอกาศที่ผลจะกลับมามีคุณภาพดีก็มีสูงกว่าต้นที่พื้นใบไม่ดี
3. ปุ๋ย และ น้ำ ปุ๋ยหรือก็คือธาตุอาหารและน้ำคือต้นทุนหลักที่จะนำไปสร้างอาหารและพลังงาน ถ้าเราใส่ปุ๋ยแต่น้ำน้อยไป ธาตุอาหารก็จะไปไม่ถึงผล ผลมีอาการตูดแหลมได้ เพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่ทุเรียนต้องการน้ำมากหรือต้องชื้นตลอดเวลาเพื่อจะสามารถดูดธาตุอาหารไปเลี้ยงลูกได้ดี
4. การไว้ผล การไว้ผลก็มีส่วนสำคัญซึ่งจะสอดคล้องกับใบ ถ้าเราไว้ผลมากเกินไป ลูกก็จะดึงอาหารจากใบมากใบก็จะร่วง น้ำหนักลูกที่ได้ก็จะไม่ดี ลูกบิดเบี้ยวกลับมาคืนทรงยาก ถ้าไว้น้อยเกินไปพื้นใบก็ดี ลูกก็จะมีขนาดใหญ่เกินไป กลายเป็นไซด์จัมโบ้ เพราะฉะนั้นการไว้ผลก็เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาวางแผนให้ดี
5. ปัจจัยเสริม ปัจจัยเสริมก็มีส่วนช่วยให้ผลผลิตมีคุณภาพที่ดีขึ้นได้ แต่ก็ต้องวางแผนพิจารณาใช้อย่างเหมาะสมว่าส่วนไหนจำเป็นหรือไม่จำเป็น เพราะทุกอย่างคือต้นทุนของชาวสวน
ที่ใบ
โดยปกติแล้ว การพ่นทางใบเป็นการเสริมประสิทธิภาพของใบให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่การให้ปัจจัยเสริมทางใบก็ควรดูจากการไว้ผลและพื้นของใบ
ถ้าเราไว้ผลน้อยแล้วแต่งพอดีแล้ว การให้ปุ๋ยและอาหารเสริมทางใบก็ไม่มีความจำเป็น เพราะอาหารส่งไปเลี้ยงลูกเพียงพอ
แต่ถ้าเราไว้ผลมาก การให้อาหารเสริมปุ๋ยทางใบก็มีความจำเป็นเพราะอาหารจะถูกใช้งานเยอะ การเสริมอาหารเข้าไป ทางใบโดยตรงก็เป็นตัวช่วยลดการหลุดร่วงของใบได้อีกทาง
ที่ผล
ถ้าเกิดพูยังเบ่งไม่ดี และลูกยังไม่โตเต็มล่าง ปัจจัยที่เสริมเข้าไปเพื่อการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น ก็จะเป็นพวกกลุ่ม ออกซิน,สาหร่ายและอมิโน
สินค้าแนะนำ
ชุดแก้ทรงขยายพูทุเรียน (พ่นลูก)
ชุดแก้ทรง ขยายพู(พ่นทางใบ)
วอเตอร์-เค 12-12-17
โฟแมกซ์คัลเซียมโบรอน 400
- เพิ่มความสมบูรณ์แข็งแรงของดอก
- เพิ่มการติดผลโดยช่วยการผสมเกษรของพืช
- ลดปัญหาผลแตกและช่วยให้ผลผลิตคงคุณภาพได้นานหลังเก็บเกี่ยว
- จำเป็นต่อการสร้างเนื้อเยื้อพืช
- ช่วยการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาล
แคลชั่น (แคลเซียมโบรอน)
